logo-farawell
บริการของเรา
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางมือถือโทร 097-496-9595
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางlineLine
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางfacebookFacebook
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางTiktokTiktok Channel
  • instagram farawellfuneralInstagram
Service provide in Thai, English and Chinese language
Service provide in Thai, English and Chinese language

ขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิงศพ ฉบับเข้าใจง่าย

 

No.1 (1).png

 

พิธีพระราชทานเพลิงศพ คำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ จากข่าวในพระราชสำนัก เป็นพิธีที่พระบรมวงศานุวงศ์พระราชทานกล่องเพลิงเพื่อนำมาใช้ในการฌาปนกิจร่างผู้วายชนม์ ถือเป็นพิธีสำคัญและทรงเกียรติ โดยส่วนมากจะขอพระราชทานเพลิงศพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ ซึ่งเป็นผู้มีคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ การขอพระราชทานเพลิงศพมีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการขอ และลำดับพิธีในการพระราชทานเพลิงศพที่ค่อนข้างรายละเอียด เราจึงรวบรวมมาสรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นในบทความนี้

 

หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพ

สิ่งแรกที่คณะเจ้าภาพควรรู้ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ คือหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพ ซึ่งหมายรวมถึงน้ำหลวงอาบศพ กล่องเพลิง และดินฝังศพ แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีปกติ และกรณีพิเศษ ซึ่งทั้งสองกรณีมีความแตกต่างกัน ดังนี้
 

การขอพระราชทานเพลิงศพกรณีปกติ

 

ผู้มีสิทธิ์ขอรับพระราชทาน ได้แก่
 

• พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้นพระครูสัญญาบัตรขึ้นไป หรือพระภิกษุ สามเณร เปรียญธรรม ๙ ประโยค
 

• พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
 

• ข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป หรือข้าราชการตามระบบจําแนกประเภท ได้แก่
 

◦ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน รับราชการ 2 ปีขึ้นไป
 

◦ ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ รับราชการ 2 ปีขึ้นไป
 

• ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ตั้งแต่ยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
 

• ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.) และเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ขึ้นไป รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์
 

• คณะองคมนตรี และผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูงในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการของประเทศที่ถึงแก่อสัญกรรมในขณะดำรงตำแหน่ง รวมถึงบิดามารดาที่ถึงแก่กรรมขณะที่บุตรดำรงตำแหน่งดังกล่าว
 

• ข้าราชบริพารในพระองค์ตามที่กำหนดในระเบียบหน่วยราชการในพระองค์
 

• ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ
 

การขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ

 

ผู้มีสิทธิ์ขอรับพระราชทาน ได้แก่
 

• ผู้ที่อยู่ในราชสกุลชั้นหม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวง
 

• ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญ และเหรียญชัยสมรภูมิ
 

• บิดามารดาของบุคคลเหล่านี้

 

◦ ข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป

 

◦ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ขึ้นไป

 

◦ ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ตั้งแต่ยศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท และพันตำรวจโทขึ้นไป

 

◦ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูสัญญาบัตรขึ้นไป
 

• ผู้ที่บริจาคร่างกายหรืออวัยวะให้สภากาชาดไทย โรงพยาบาลของรัฐ หรือสถานศึกษา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
 

• ข้าราชการ พลเรือน และจิตอาสาที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
 

• ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ

 

ขั้นตอนการขอพระราชทานเพลิงศพ

หากผู้วายชนม์เข้าหลักเกณฑ์ไม่ว่าจะเป็นกรณีปกติหรือกรณีพิเศษ สิ่งที่เจ้าภาพหรือทายาทต้องทำเป็นลำดับถัดไป คือการขอพระราชทานเพลิงศพ โดยสามารถติดต่อขอได้ทุกวัน เวลา 8.30-16.30 น. ที่ฝ่ายการพระราชทานเพลิง กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง หรือศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้

 

• ทายาทหรือเจ้าภาพเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ได้แก่

 

◦ หนังสือขอพระราชทานเพลิงศพ

 

◦ ใบมรณบัตร

 

◦ สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของผู้วายชนม์และผู้ดำเนินการ

 

◦ ประวัติผู้วายชนม์พร้อมรูปถ่าย

 

◦ เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาใบกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำเนาใบตราตั้งสมณศักดิ์

 

• ยื่นเอกสารที่กองพระราชพิธี หรือศาลากลางจังหวัด

 

• เจ้าหน้าที่ประสานงานรับเรื่องและตรวจสอบเอกสาร

 

• กองพระราชพิธีอนุมัติหมายรับสั่งแล้วจัดเตรียมเครื่องเกียรติยศและเจ้าหน้าที่ เพื่อประสานงานกับเจ้าภาพและดำเนินพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป

 

No.2 (1).jpg

 

ขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิงศพ

หลังจากมีการอนุมัติหมายรับสั่ง กองพระราชพิธีจะส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำและประสานงานกับคณะเจ้าภาพ เพื่อดำเนินพิธีพระราชทานเพลิงศพให้เป็นไปอย่างทรงเกียรติและถูกต้องตามขนบธรรมเนียม โดยขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิงศพ แบ่งเป็น 8 ขั้นตอน ได้แก่
 

1. การปฏิบัติศาสนพิธี เช่น การถวายภัตตาหารเพล การสวดมาติกา บังสุกุล การแสดงพระธรรมเทศนา แล้วจึงเชิญโลงบรรจุร่างผู้วายชนม์ขึ้นตั้งบนจิตกาธาน

 

2. การมอบเงินหรือสิ่งของให้แก่วัด องค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลต่าง ๆ หรือหากมีการแสดงมหรสพ ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้

 

3. การเชิญผู้ทอดผ้าบังสุกุลขึ้นทำพิธีตามลำดับที่จัดเรียงไว้ โดยเชิญผู้เป็นประธานในพิธีขึ้นทอดผ้าเป็นคนสุดท้าย

 

4. การตั้งแถวรับกล่องเพลิงพระราชทานตามเวลาที่กำหนดไว้ในหมายรับสั่ง ซึ่งผู้ร่วมตั้งแถว ได้แก่ ทายาท บุตร หลาน ญาติ และผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ ขณะทำพิธี ทุกคนต้องยืนตรง ส่วนผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ ควรนั่งหรือยืนอยู่กับที่ด้วยกิริยาสำรวม ไม่พูดคุยกัน

 

5. การอ่านหมายรับสั่งเพื่อแสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตามด้วยการอ่านประวัติของผู้วายชนม์และคำไว้อาลัย

 

6. การเชิญให้ผู้ร่วมงานยืนหรือนั่งไว้อาลัยประมาณ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้วายชนม์

 

7. การประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เริ่มจากเชิญประธานขึ้นทอดผ้าบังสุกุล นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นพิจารณาผ้าบังสุกุล จากนั้นประธานจะถวายความเคารพไปยังทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ แล้วหยิบดอกไม้จันทน์มาจุดไฟพระราชทาน วางบนจิตกาธานบริเวณฐานฟืน เคารพศพ แล้วถวายความเคารพในทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอีกครั้ง 

 

8. หลังจากประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พิธีกรจะเชิญผู้เข้าร่วมงานท่านอื่น ๆ ให้ขึ้นวางดอกไม้จันทน์จนครบถ้วน แล้วจึงจะเป็นการฌาปนกิจศพตามขั้นตอนของวัด

 

เพราะในการจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ มีรายละเอียดสำคัญมากมายและต้องประสานกับหน่วยงานในสำนักพระราชวัง เพื่อให้ทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างเรียบร้อย สวยงาม และทรงเกียรติที่สุด หากคุณต้องการให้ทุกพิธีการออกมาสมบูรณ์แบบ เลือกใช้บริการแพ็กเกจจัดงานศพ รับจัดดอกไม้หน้าเมรุ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก Farawell Funeral Services มีแพ็กเกจจัดงานพิธีศพให้เลือกหลากหลายราคา ครอบคลุมทุกความต้องการของเจ้าภาพ ช่วยคุณประสานงานให้ราบรื่นทุกขั้นตอน ยินดีให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 097-496-9595

 

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. การขอพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 จาก https://hrm.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/3/2022/01/การขอพระราชทานเกี่ยว
  2. กับพิธีการศพ-พ.ศ.2564-1.pdf ลำดับพิธีการในงานพระราชทานเพลิงศพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 จาก https://anyflip.com/iqpqe/oaqh/basic 
แชร์บทความนี้
พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

สรุปหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพ และขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิง พิธีอันทรงเกียรติที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกคุณความดีของผู้วายชนม์ก่อนส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติ

อ่านบทความarrow-left
ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

หากรู้สึกช่วงนี้ดวงตก อยากเสริมดวงให้พุ่ง ชีวิตรุ่ง การทำบุญโลงศพอาจช่วยได้ ขอพามารู้จักข้อดีการทำบุญโลงศพ พร้อมพิกัดทำบุญโลงศพ และคำกล่าวถวายโลงศพ

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ต้องทำอย่างไรหากมีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ ? พร้อมแจกแจงขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศและประมาณการค่าใช้จ่าย

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

สรุปหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพ และขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิง พิธีอันทรงเกียรติที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกคุณความดีของผู้วายชนม์ก่อนส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติ

ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

หากรู้สึกช่วงนี้ดวงตก อยากเสริมดวงให้พุ่ง ชีวิตรุ่ง การทำบุญโลงศพอาจช่วยได้ ขอพามารู้จักข้อดีการทำบุญโลงศพ พร้อมพิกัดทำบุญโลงศพ และคำกล่าวถวายโลงศพ

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ต้องทำอย่างไรหากมีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ ? พร้อมแจกแจงขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศและประมาณการค่าใช้จ่าย

ช่องทางline
ช่องทางfecebook

Farawell Funeral Services

ฟาราเวล ฟิวเนอรัล เซอร์วิส "เพราะครั้งสุดท้าย...ต้องดีที่สุด" รับจัดงานศพ บริการจัดงานศพ ครบวงจร ออแกไนซ์จัดงานศพ จัดงานศพพิธีไทย จีน คริสต์ อิสลาม ทุกศาสนา ดอกไม้หน้าศพ รถรับส่งศพ โลงศพ ฌาปนกิจ snackbox ของชำร่วย ลอยอังคาร ทำบุญอัฐิ

คลิกที่นี่เพื่อ Add line @farawell

คลิกที่นี่เพื่อ Add line @farawell

logo-farawell© Farawell Funeral Services