logo-farawell
บริการของเรา
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางมือถือโทร 097-496-9595
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางlineLine
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางfacebookFacebook
  • โทรติดต่อfarawellfuneralช่องทางTiktokTiktok Channel
  • instagram farawellfuneralInstagram
Service provide in Thai, English and Chinese language
Service provide in Thai, English and Chinese language

รวบรวมข้อมูลต้องรู้ในขั้นตอนการแจ้งตาย

 

กรณีเสียชีวิตนอกสถานพยาบาล.jpg

 

เมื่อมีคนใกล้ชิดเสียชีวิตลง นอกจากจะต้องจัดพิธีศพตามธรรมเนียมและความเชื่อแล้ว การดำเนินการทางกฎหมายอย่าง ‘การแจ้งตาย’ ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพื่อให้นายทะเบียนบันทึกข้อมูลทางทะเบียนราษฎร และยังเกี่ยวโยงไปถึงการดำเนินการทางกฎหมายอื่น ๆ เช่น การออกใบมรณบัตร การจัดการมรดก การปิดบัญชีธนาคาร การรับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม การรับเงินจากประกันชีวิต ฯลฯ

 

เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการแจ้งตาย Farawell จึงรวบรวมขั้นตอนการแจ้งตายจากข้อมูลของสำนักงานเขต โรงพยาบาล และประสบการณ์ตรงจากรถกู้ชีพไว้ที่นี่แล้ว เข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง ครบถ้วนทุกกรณีการเสียชีวิตที่พบบ่อย

 

สรุปข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการแจ้งตาย
 

ช่องทางการแจ้งตาย
 

• สำนักทะเบียนท้องถิ่นในสำนักงานเทศบาล

• ที่ว่าการอำเภอ / สำนักงานเขต

• สำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง

• กรณีเสียชีวิตที่ต่างประเทศ สามารถแจ้งตายและขอรับใบมรณบัตรได้ที่สถาน

• เอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่เสียชีวิต
 

ระยะเวลาในการแจ้งตายและขอใบมรณบัตร

ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีท้องที่ที่การคมนาคมไม่สะดวกหรือมีเหตุจำเป็น ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งตายได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 วันนับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ

 

ผู้ที่สามารถแจ้งตายได้

• ผู้เป็นเจ้าบ้านของผู้เสียชีวิต

• บุคคลที่อยู่กับผู้เสียชีวิตในกรณีที่เสียชีวิตนอกบ้าน

• ผู้ที่พบศพ

 

นอกจากนี้ ยังต้องมีพยานบุคคล 2 คนขึ้นไป ซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้เดินทางไปแจ้งตายด้วย

 

เอกสารที่จะได้รับทั้งหมดเมื่อมีผู้เสียชีวิต

1. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ใบ ท.ร.4/1)

2. ใบบันทึกประจำวัน ในกรณีที่เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล

3. ใบมรณบัตร

 

แจ้งตายใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

1. ทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิตฉบับเจ้าบ้าน

2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ใบ ท.ร.4/1)

3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งและของผู้เสียชีวิต

 

บทลงโทษกรณีไม่แจ้งตายตามที่กฎหมายกำหนด

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 กำหนดให้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงนับจากเวลาเสียชีวิตหรือเวลาที่พบศพ หรือไม่เกิน 7 วันในกรณีที่การคมนาคมไม่สะดวก หากไม่ปฏิบัติตาม ระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

ขั้นตอนการแจ้งตายในกรณีต่าง ๆ

กรณีเสียชีวิตนอกสถานพยาบาล

1. โทรแจ้งตำรวจที่เบอร์ 191 หรือแจ้งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

2. เจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายศพไปที่โรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ยืนยันสาเหตุการเสียชีวิต 

3. แพทย์ออกหนังสือรับรองการตาย (ใบท.ร.4/1) และเจ้าหน้าที่ตำรวจพนักงานสอบสวนจะออกใบบันทึกประจำวันให้

4. นำหนังสือรับรองการตาย (ใบท.ร.4/1) ไปออกใบมรณบัตรที่สำนักงานเขต

5. นำศพเคลื่อนย้ายไปที่วัดหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
 

กรณีเสียชีวิตในโรงพยาบาล

 

กรณีเสียชีวิตในโรงพยาบาล

1. แพทย์ระบุเวลาและสาเหตุการเสียชีวิต

2. แพทย์ออกหนังสือรับรองการตาย (ใบท.ร.4/1) 

3. นำหนังสือรับรองการตาย (ใบท.ร.4/1) ไปออกใบมรณบัตรที่สำนักงานเขต

4. นำศพเคลื่อนย้ายไปที่วัดหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

 

ใบมรณบัตรคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?

หลังจากดำเนินการแจ้งตายเสร็จเรียบร้อย คุณจะได้รับใบมรณบัตรหรือ Death Certificate จากสำนักงานเขต เป็นเอกสารสำคัญทางราชการที่ออกให้เป็นหลักฐานยืนยันการเสียชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ระบุข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เสียชีวิตเอาไว้ครบถ้วน เช่น ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด สาเหตุการเสียชีวิต โดยมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

 

 • การดำเนินการทางกฎหมาย

◦ การจัดการมรดก

◦ การปิดบัญชีธนาคาร

◦ การยกเลิกเอกสารสำคัญอื่น ๆ ของผู้ตาย เช่น ใบขับขี่ บัตรประชาชน หรือสัญญาต่าง ๆ

 • การขอรับผลประโยชน์ต่าง ๆ

◦ การขอรับเงินประกันชีวิต

◦ การขอรับเงินชดเชย

 • การบันทึกสถิติ

◦ การบันทึกข้อมูลทางทะเบียนราษฎร เพื่ออัปเดตข้อมูลประชากร

◦ การวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตเพื่อนำไปวางแผนการป้องกันโรค
 

ตัวอย่างหนังสือรับรองการตาย ท.ร.4/1

 

ตัวอย่างหนังสือรับรองการตาย

 

คำถามที่พบบ่อย FAQ

Q: ระยะเวลาในการแจ้งตาย ควรแจ้งตายภายในกี่วัน ?

A: ควรแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากพบผู้เสียชีวิต กรณีการคมนาคมไม่สะดวก สามารถยืดหยุ่นได้ไม่เกิน 7 วัน

 

Q: หนังสือรับรองการตายหรือใบ ท.ร.4/1 คือใบเดียวกันกับ ท.ร. 4 ตอนหน้าหรือไม่ ?

A: ไม่ใช่ เอกสารรับรองการตาย ท.ร. 4/1 สามารถออกโดยแพทย์สาขาใดก็ได้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วย แต่ต้องออกกรณีที่เสียชีวิตในสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนใบรับแจ้งการตาย ท.ร. 4 ตอนหน้า ออกโดยหน่วยงานทางปกครองเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดนอกสถานพยาบาล

 

Q: ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านคือฉบับไหน ใช้สำเนาที่ถ่ายเอกสารได้หรือไม่ ?

A:  ไม่ได้ ต้องใช้ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านหรือฉบับจริงเท่านั้น เพราะต้องมีการประทับตรายางลงเล่มทะเบียนบ้านต้นฉบับ ส่วนทะเบียนบ้านต้นฉบับจะเก็บไว้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอแต่ละพื้นที่

 

Q: ผู้มีหน้าที่แจ้งตายได้แก่ใครบ้าง ?

A:  

• ผู้เป็นเจ้าบ้านของผู้เสียชีวิต

• บุคคลที่อยู่กับผู้เสียชีวิตในกรณีที่เสียชีวิตนอกบ้าน

• ผู้ที่พบศพ

 

Q: สามารถยื่นขอใบมรณบัตรออนไลน์ได้หรือไม่ ?

A:  ไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องไปยื่นคำขอที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตายเท่านั้น

 

Q: ใบมรณบัตรมีค่าธรรมเนียมเท่าไร ?

A: สำหรับการยื่นเอกสารขอใบมรณบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 20 บาท

 

หากคุณต้องการผู้ช่วยเหลือในขั้นตอนการแจ้งตาย ขั้นตอนการส่งร่างผู้เสียชีวิตไปประกอบพิธีกรรมฯ รวมถึงดำเนินการด้านต่าง ๆ ในการจัดงานศพให้ผ่านพ้นไปอย่างราบรื่น ที่ Farawell เรามีแพ็กเกจบริการจัดงานศพโดยทีมงานมืออาชีพ ช่วยคุณเตรียมพร้อมและประสานงานทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายและเตรียมหีบศพ บริการจัดดอกไม้หน้าโลง พิธีสวดพระอภิธรรม ตลอดจนการจัดเตรียมอาหารและของชำร่วยสำหรับแขกเหรื่อ พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 097-496-9595 หรือแอดไลน์ @Farawell (มี@)

 

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. สำนักงานทะเบียน  The Bureau of registration Administration. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 จาก https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-population/13-service-handbook/population/11-population-dead 
  2. กรมการแพทย์. (2562). คู่มือให้บริการการจำหน่ายศพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 จาก https://www.iop.or.th/documents/SLA/2564/corpsedistribution.pdf    
  3. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 จาก https://www.phoubon.in.th/download/D_คู่มือการบันทึกหนังสือรับรองการตาย_2017.pdf  
แชร์บทความนี้
พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

สรุปหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพ และขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิง พิธีอันทรงเกียรติที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกคุณความดีของผู้วายชนม์ก่อนส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติ

อ่านบทความarrow-left
ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

หากรู้สึกช่วงนี้ดวงตก อยากเสริมดวงให้พุ่ง ชีวิตรุ่ง การทำบุญโลงศพอาจช่วยได้ ขอพามารู้จักข้อดีการทำบุญโลงศพ พร้อมพิกัดทำบุญโลงศพ และคำกล่าวถวายโลงศพ

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ต้องทำอย่างไรหากมีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ ? พร้อมแจกแจงขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศและประมาณการค่าใช้จ่าย

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์การขอและขั้นตอนที่ควรรู้

สรุปหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพ และขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิง พิธีอันทรงเกียรติที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกคุณความดีของผู้วายชนม์ก่อนส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติ

ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

ชีวิตแย่-ดวงตก การทำบุญโลงศพช่วยได้ แจกพิกัดทำบุญและคำถวาย

หากรู้สึกช่วงนี้ดวงตก อยากเสริมดวงให้พุ่ง ชีวิตรุ่ง การทำบุญโลงศพอาจช่วยได้ ขอพามารู้จักข้อดีการทำบุญโลงศพ พร้อมพิกัดทำบุญโลงศพ และคำกล่าวถวายโลงศพ

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศ เมื่อคนไทยเสียในต่างแดน

ต้องทำอย่างไรหากมีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ ? พร้อมแจกแจงขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพจากต่างประเทศและประมาณการค่าใช้จ่าย

ช่องทางline
ช่องทางfecebook

Farawell Funeral Services

ฟาราเวล ฟิวเนอรัล เซอร์วิส "เพราะครั้งสุดท้าย...ต้องดีที่สุด" รับจัดงานศพ บริการจัดงานศพ ครบวงจร ออแกไนซ์จัดงานศพ จัดงานศพพิธีไทย จีน คริสต์ อิสลาม ทุกศาสนา ดอกไม้หน้าศพ รถรับส่งศพ โลงศพ ฌาปนกิจ snackbox ของชำร่วย ลอยอังคาร ทำบุญอัฐิ

คลิกที่นี่เพื่อ Add line @farawell

คลิกที่นี่เพื่อ Add line @farawell

logo-farawell© Farawell Funeral Services